Fibonacci
Fibonacci Number
Fibonacci เป็นชื่อเรียกเลขอนุกรมมหัศจรรย์ ที่ตั้งขึ้นตามผู้คิดค้นคือ LEONARDS FIBONACCI ซึ่งสังเกตเห็นว่าธรรมชาติมีสัดส่วนสัมพันธ์กับตัวเลขนี้ ต่อมาได้มีการประยุกต์นำมาใช้ในการวิเคราะห์ราคาหุ้น
Fibonacci เป็นเครื่องมือที่ใช้วัดหา แนวรับ –แนวต้าน และหาราคาเป้าหมายของราคาในตลาด Forex เทรดเดอร์ส่วนใหญ่ใช้กันมากเพราะ Fibonacci ใช้ง่าย และเป็นพื้นฐานที่เราควรจะรู้
โดยมีรูปแบบอยู่ 2 ลักษณะที่ใช้กันอยู่บ่อย ๆ คือ
Fibonacci retracement หาแนวรับแนวต้านราคาในแนวระนาบ
Fibonacci fan ( คลิกอ่าน )หาแนวรับแนวต้านในแนวเฉียง
ส่วนใหญ่ที่เห็นใช้กัน ก็จะเป็นอันแรกครับ
การนำไปใช้งาน สัดส่วนที่นำมาใช้ ถูกคำนวณมาเป็น % มีดังนี้
0 (0%)
0.236(23.6%)
0.382(38.2%)
0.500(50%)
0.618(61.8%)
0.786(78.6%)
1.00(100%)
1.382(138.2%)
1.618(161.8%)
2.618(261.8%)
4.236(423.6%)
ตัวเลขสีแดงคือตัวเลขที่ผมให้ความสำคัญเป็นพิเศษเพราะจะเป็นจุดกับตัวของแท่งเทียนหรือการปรับฐานนั้นเอง
การใช้ Fibonacci สามารถใช้วัดได้ทั้งคลื่นย่อย และคลื่นหลักตามสะดวก และโดยมากเราวัดในคลื่นย่อย มักจะตรงกับคลื่นหลักอย่างน่าแปลกใจในบางครั้ง ซึ่งหากตรงกัน ผมมักให้ความสำคัญเพิ่มตรงจุดนั้นมาก
การใช้ Fibonacci ใช้ตอนไหน และตรงไหนดี
คงเป็นคำถามสำหรับมือใหม่ ที่บางคนลากแบบไม่รู้จะเริ่มตรงไหนดี ต้องย้อนกลับไปอ่านอีกทีข้างบน ที่บอกว่า ใช้หาแนวต้าน แนวรับ และราคาเป้าหมาย ไงครับ เราต้องหาหัวหาท้ายของคลื่นให้ได้ก่อน
ก่อนอื่นเลยครับเราต้องเราต้องเลือก Fibonacci โดยเข้าไปที่ Insert >>Fibonacci >>Retracement แล้วก็เอามาลากบนกราฟ โดย Fibonacci แบบเดิมๆ ที่ให้มากับ Mt4 จะไม่มีราคาติดอยู่ที่ระดับต่างๆของ Fibonacci ดังรูปด้านล่าง
เมื่อเรามี Fibonacci อยู่บน Chart แล้วให้คลิกขวาที่ Chart เลือก Objects List แล้วเลือก Fibo จากนั้นเลือก Edit
เมื่อคลิกที่ Edit แล้วให้คลิกที่ Fibo Levels จากนั้นเติมคำว่า =%$ ลงไปต่อท้ายที่ช่อง Descriptions ทุกตัว ครับ
Fibonacci เป็นชื่อเรียกเลขอนุกรมมหัศจรรย์ ที่ตั้งขึ้นตามผู้คิดค้นคือ LEONARDS FIBONACCI ซึ่งสังเกตเห็นว่าธรรมชาติมีสัดส่วนสัมพันธ์กับตัวเลขนี้ ต่อมาได้มีการประยุกต์นำมาใช้ในการวิเคราะห์ราคาหุ้น
Fibonacci เป็นเครื่องมือที่ใช้วัดหา แนวรับ –แนวต้าน และหาราคาเป้าหมายของราคาในตลาด Forex เทรดเดอร์ส่วนใหญ่ใช้กันมากเพราะ Fibonacci ใช้ง่าย และเป็นพื้นฐานที่เราควรจะรู้
โดยมีรูปแบบอยู่ 2 ลักษณะที่ใช้กันอยู่บ่อย ๆ คือ
Fibonacci retracement หาแนวรับแนวต้านราคาในแนวระนาบ
Fibonacci fan ( คลิกอ่าน )หาแนวรับแนวต้านในแนวเฉียง
ส่วนใหญ่ที่เห็นใช้กัน ก็จะเป็นอันแรกครับ
การนำไปใช้งาน สัดส่วนที่นำมาใช้ ถูกคำนวณมาเป็น % มีดังนี้
0 (0%)
0.236(23.6%)
0.382(38.2%)
0.500(50%)
0.618(61.8%)
0.786(78.6%)
1.00(100%)
1.382(138.2%)
1.618(161.8%)
2.618(261.8%)
4.236(423.6%)
ตัวเลขสีแดงคือตัวเลขที่ผมให้ความสำคัญเป็นพิเศษเพราะจะเป็นจุดกับตัวของแท่งเทียนหรือการปรับฐานนั้นเอง
การใช้ Fibonacci สามารถใช้วัดได้ทั้งคลื่นย่อย และคลื่นหลักตามสะดวก และโดยมากเราวัดในคลื่นย่อย มักจะตรงกับคลื่นหลักอย่างน่าแปลกใจในบางครั้ง ซึ่งหากตรงกัน ผมมักให้ความสำคัญเพิ่มตรงจุดนั้นมาก
การใช้ Fibonacci ใช้ตอนไหน และตรงไหนดี
คงเป็นคำถามสำหรับมือใหม่ ที่บางคนลากแบบไม่รู้จะเริ่มตรงไหนดี ต้องย้อนกลับไปอ่านอีกทีข้างบน ที่บอกว่า ใช้หาแนวต้าน แนวรับ และราคาเป้าหมาย ไงครับ เราต้องหาหัวหาท้ายของคลื่นให้ได้ก่อน
ก่อนอื่นเลยครับเราต้องเราต้องเลือก Fibonacci โดยเข้าไปที่ Insert >>Fibonacci >>Retracement แล้วก็เอามาลากบนกราฟ โดย Fibonacci แบบเดิมๆ ที่ให้มากับ Mt4 จะไม่มีราคาติดอยู่ที่ระดับต่างๆของ Fibonacci ดังรูปด้านล่าง
เมื่อเรามี Fibonacci อยู่บน Chart แล้วให้คลิกขวาที่ Chart เลือก Objects List แล้วเลือก Fibo จากนั้นเลือก Edit
เมื่อคลิกที่ Edit แล้วให้คลิกที่ Fibo Levels จากนั้นเติมคำว่า =%$ ลงไปต่อท้ายที่ช่อง Descriptions ทุกตัว ครับ
เมื่อทำเสร็จแล้วจะได้ดังรูป
การใช้ Fibonacci Retracement
1.ใช้เพื่อหาแนวรับแนวต้าน (Support and Resistance)
หาจุดต่ำสุด(Low) และ หาจุดสูงสุด High ก่อนโดยหาจากยอดคลื่นล่าสุด และ ก้นบึ้งล่าสุด ดังรูป
เมื่อราคาได้เคลื่อนตัวลงมาแล้ว ราคาจะขึ้นไปปรับตัวที่ระดับ Fibonacci Retracement 38.2 , 50.0 และ 61.8 เราสามารถใช้ จุดเหล่านี้เป็นแนวต้านของราคาได้ ถ้าราคาไม่สามารถผ่านแนวต้าน (resistance ) นี้ได้ ราคาก็จะปรับตัวลงต่อ และมาทดสอบที่ Low เดิม แต่ถ้าสามารถผ่าน แนวต้านนี้ได้ ราคาก็จะกลับไปทดสอบ High เดิม เช่นเดียวกัน
2.ใช้ Fibonacci Retracement เพื่อหาราคาเป้าหมาย (Target price )
ทุกๆ ครั้งที่เราทำการเข้าเทรด เมื่อเข้าไปแล้ว เราก็ต้องหาราคาเป้าหมาย ว่ามันควรจะไปถึงไหน ซึ่ง Fibonacci Retracement สามารถบอกเราได้ ว่ามันควรจะไปแค่ไหน แต่จงจำไว้นะครับ ว่าทุกอย่างเป็นเพียงแค่การคาดการณ์ ไม่ได้ตรงแปะเสมอไปครับ
จากรูปด้านบน จะเห็นว่า ราคาสวิงขึ้นจาก Low ไปที่ High แล้วราคามีการปรับตัวลงมา ตำแหน่งที่ปรับฐาน หรือ แนวรับ ที่เราควรจะสังเกตก็คือ ที่ระดับ Fibonacci Retracement 61.8 , 50.0 และ 38.2 จากรูปด้านบนจะเห็นว่าราคาไม่สามารถผ่าน 50.0 ไปได้ หรือบางครั้งเราอาจจะเรียกตำแหน่งนี้ว่า Pivot Point เมื่อราคาดีดตัว ตรงนี้ เราก็คาดการณ์ได้เลย ว่ามันต้องขึ้นแน่ๆ ก็ เปิด Long (Buy) ได้เลย แล้ว ตั้ง TARGET ไว้ที่ Fibonacci Retracement 161.8 ครับ
Fibonacci fan คงไม่พูดถึงนะ การใช้งานก็คล้ายกันครับเพื่อน ๆ ลองไปหัดวัดคลื่นเก่าๆที่เคยผ่านไปดูนะครับ
สรุปคือ มองภาพคลื่นของแท่งเทียน หาจุดเริ่มต้นให้เจอ พิจารณา ธรรมชาติของคลื่นลูกนั้น ว่าเป็นคลื่น 1-2-3-4-5 หรือ a-b-c เพื่อคะเนว่า ตัวเลขแนวต้าน-แนวรับตรงไหนน่าจะสำคัญสำหรับคลื่นลูกนั้น
เทคนิคการใช้งาน : Fibonacci Retracement และ Fibonacci Extension
ขอบคุณสำหรับข้อมูลจาก : http://thaiforexschool.com/index.php?topic=83.0
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น